อักษรวิ่ง

เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน

วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2562

การตรวจและรักษาผู้ป่วยที่มีความผิดปกติในการนอนคืออะไร?

แพทย์ประจำของคุณจะแนะนำให้คุณทำการตรวจและรักษาผู้ป่วยที่มีความผิดปกติในการนอนเพื่อแยกภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งเป็นสภาวะที่สมองไม่กระตุ้นการหายใจในขณะหลับ (ภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่เกิดจากสมองส่วนกลาง) หรือคุณพยายามที่จะหายใจแต่ไม่สามารถรับออกซิเจนที่เพียงพอได้ (โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นทางเดินหายใจ)
การตรวจชนิดนี้จำเป็นให้ผู้ป่วยต้องนอนพักดูอาการอยู่ที่โรงพยาบาล การตรวจและรักษาผู้ป่วยที่มีความผิดปกติในการนอนวัดคลื่นไฟฟ้าในสมองและหัวใจ ประสิทธิภาพในการหายใจ การถ่ายเทของอากาศ ความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด รวมถึงการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ ดวงตา และการหายใจของคุณ
การตรวจอีกชนิดที่แพทย์ประจำตัวของคุณอาจแนะนำคือการทดสอบการงีบหลับตอนกลางวันซึ่นวัดระยะเวลาที่คุณหลับระหว่างวัน แพทย์ประจำตัวของคุณจะให้คุณหลับสั้นๆ 4-5 ครั้งในระยะเวลาเท่าๆกัน และสังเกตุรูปแบบการนอนของคุณ

ยาสำหรับโรคลมหลับ
ไม่มีการรักษาให้หายขาดสำหรับโรคลมหลับ แต่ยารักษาสามารถช่วยรักษาอาการแสดงของโรคได้ ถ้าคุณมีความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หรือโรคทางสุขภาพอื่นๆ ปรึกษาแพทย์ประจำตัวของคุณว่ายาที่คุณกำลังรับประทานอยู่จะส่งผลกระทบต่อการรักษาโรคลมหลับอย่างไร
ยารักษาโรคลมหลับที่ใช้ทั่วไปได้แก่:
ยาที่กระตุ้นให้ตื่น ยาเหล่านี้มี Provigil (modafinil) และ Nuvigil (armodafinil) ซึ่งกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางเพราะช่วยให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคลมหลับตื่นในเวลากลางวัน ยาเหล่านี้มักใช้รักษาโรคลมหลับอยู่บ่อยๆ ผู้ป่วยจะใช้แล้วไม่รู้สึกติดยาเท่ากับยากระตุ้นประสาท และไม่ทำให้เกิดอาการข้างเคียงอื่นๆที่มีอยู่ทั่วไปเหมือนกับยากระตุ้นประสาทรุ่นเก่า
แอมเฟตามีน แพทย์ประจำตัวของคุณอาจแนะนำให้ใช้ Ritalin (methylphenidate) ซึ่งเป็นประเภทหนึ่งของแอมเฟตามีน หรืออนุพันธุ์ของแอมเฟตามีน (เช่น dextroamphetamine หรือ lisdexamfetamine)
โดยทั่วไปแล้ว แอมเฟตามีนมีประสิทธิภาพในการรักษาอาการง่วงนอนมากผิดปกติในช่วงกลางวัน แต่ยากลุ่มนี้มีผลข้างเคียงของอาการกระวนกระวายและใจสั่น และอาจทำให้ติดยาได้ และมักนำไปใช้ในทางที่ผิด  
SSRIs และSNRIs แพทย์ประจำตัวของคุณอาจจ่ายยารักษาโรคซึมเศร้ากลุ่ม selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs) หรือ serotonin and norepinephrine reuptake inhibitors (SNRIs) เพื่อยับยั้งการ REM sleep และบรรเทาอาการแสดงของภาวะผล็อยหลับ ประสาทหลอนในช่วงเคลิ้มหลับ และอาการผีอำ.
ตัวอย่างของยารักษาโรคซึมเศร้ากลุ่ม SSRIs and SNRIs มี:
  • Prozac (fluoxetine)
  • Venlafaxine
ยาต้านโรคซึมเศร้ากลุ่ม Tricyclic ยาต้านโรคซึมเศร้ากลุ่มเก่ากลุ่มนี้สามารถใช้รักษาภาวะผล็อยหลับได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวอย่างยาได้แก่:
  • Protriptyline
  • Tofranil (imipramine)
  • Clomipramine
Xyrem (sodium oxybate) ยาตัวนี้มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะผล็อยหลับและสามารถปรับปรุงการนอนกลางคืนได้อีกด้วย ยาตัวนี้ต้องรับประทานในสองครั้ง ครั้งแรกก่อนนอน และซ้ำอีกครั้ง 3-4 ชั่วโมงหลังการรับประทานครั้งแรก ยาตัวนี้สามารถใช้ควบคุมอาการง่วงในระหว่างวันได้เมื่อใช้ขนาดยาที่สูง

การรักษาโรคลมหลับด้วยวิธีอื่นๆ

สำหรับผู้ที่เป็นโรคลมหลับ แพทย์มักจะแนะนำให้ปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิต รวมถึง:
หยุดสูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์โดยเฉพาะในเวลากลางคืนสามารถทำให้อาการแสดงของโรคลมหลับทรุดหนักได้
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ Moderate exercise  ออกกำลังกายอย่างน้อย 4-5 ชั่วโมงก่อนเวลานอนอาจช่วยให้คุณรู้สึกตื่นตัวระหว่างวันและนอนหลับดีขึ้นในช่วงกลางคืน
สร้างตารางการนอน สุดท้ายแล้ว แพทย์ประจำตัวของคุณอาจแนะนำให้คุณไปนอนและตื่นในเวลาเดิมทุกวันรวมถึงในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์และจัดลำดับเวลานอนสั้นๆในระหว่างวัน การนอนระยะสั้นๆเป็นเวลา 20 นาทีช่วยให้คุณรู้สึกสดชื่นและลดอาการง่วงได้

อาการแสดงต่างของโรคลมหลับ

อาการแสดงทั่วไปของโรคลมหลับมี:
  • อาการง่วงนอนมากผิดปกติในเวลากลางวัน
  • ภาวะผล็อยหลับ (สูญเสียการควบคุมกล้ามเนื้อ)
  • ผีอำ
  • ประสาทหลอน
อาการง่วงนอนมากผิดปกติในเวลากลางวัน อาการนี้เป็นอาการที่พบได้บ่อยทีสุดของโรคลมหลับ ซึ่งก็คืออาการง่วงนอนมากผิดปกติและส่งผลกระทบต่อกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย ถ้าคุณเป็นโรคลมหลับ คุณมันจะรู้สึกง่วงซึมระหว่างวันแม้คุณได้หลับอย่างเต็มที่ในตอนกลางคืน คุณอาจประสบกับการขาดพลังงาน มีอารมณ์ซึมเศร้า หรือรู้สึกเพลียเป็นอย่างมาก ผู้ป่วยบางรายที่เป็นโรคลมหลับอาจประสบกับการสูญเสียความทรงจำหรือมีความยากลำบากในการทำสมาธิในที่ทำงานหรือที่โรงเรียน
และคุณอาจมีอาการที่เรียกว่า "microsleeps" ซึ่งเป็นสภาวะที่มีไม่สามารถควบคุมได้ซึ่งคุณเผลอหลับแบบไม่ได้ตั้งใจโดยไม่รู้ตัวในระยะเวลาสั้นๆ ประมาณ 40% ของผู้ที่การนอนหลับในระยะเวลาสั้น (microsleeps) จากการเกิดโรคลมหลับจะประสบกับพฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ นั่นหมายความว่า พวกเขายังทำงานต่อเนื่องโดยธรรมชาติอยู่ (เช่น พิมพ์ดีดหรือขับรถ) ในขณะที่นอนหลับ
แน่นอนว่าประสิทธิภาพของงานเหล่านี้มักลดน้อยลงในระหว่างการหลับระยะสั้นซึ่งอาจเป็นอันตรายได้ขึ้นอยู่กับงานที่ป่วยกำลังปฏิบัติอยู่
ภาวะผล็อยหลับ ประมาณ 70% ของผู้ป่วยที่เป็นโรคลมหลับเป็นโรคลมหลับชนิดที่ 1 ซึ่งมีโรคภาวะผล็อยหลับร่วมอยู่ด้วย ภาวะผล็อยหลับมีอาการของการสูญเสียความตึงตัวของกล้ามเนื้อแบบเฉียบพลันในขณะที่ตื่น ซึ่งทำให้เกิดอาการอ่อนแรงและการสูญเสียการควบคุมของกล้ามเนื้อลาย โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเวลาในขณะที่ตื่น ภัยของภาวะผล็อยหลับแตกต่างกันออกไปทั้งในเรื่องของระยะเวลาและความรุนแรง ในบางกรณี การสูญเสียความตึงตัวของกล้ามเนื้อนั้นเล็กน้อย เช่น เปลือกตาตกลงอย่างเล็กน้อย แต่ในกรณีที่รุนแรง คุณอาจประสบกับการสูญเสียความตึงตัวของกล้ามเนื้อลายทั้งหมดซึ่งทำให้คุณไม่สามารถเคลื่อนไหว พูดคุย หรือเปิดตาได้ แม้ในช่วงเวลาที่คุณมีสติเต็มร้อย
ผีอำ เป็นสภาวะที่คุณไม่สามารถเคลื่อนไหวหรือพูดในขณะที่คุณนอนหรือกำลังจะตื่นเพียงชั่วคราว แม้กระทั่งในยามที่คุณมีสติเต็มร้อย โดยทั่วไปแล้ว ภัยของอาการผีอำมักเกิดขึ้นในระยะเวลาไม่กี่วินาทีหรือนาที
แม้ในกรณีที่รุนแรง ทั้งภาวะผล็อยหลับและอาการผีอำไม่ส่งผลให้เกิดความผิดปกติอย่างถาวร คุณจะหายอย่างรวดเร็วพร้อมพละกำลังที่จะเคลื่อนไหวและพูดได้เมื่อภัยนี้หายไป
อาการผีอำและประสาทหลอนเป็นอาการที่พบได้ไม่บ่อย เกิดขึ้นในผู้ป่วยที่เป็นโรคลมหลับเพียง 10-25%
ประสาทหลอน อาการนี้มักจะเป็นอาการของการเห็นภาพที่เหมือนจริงแต่จริงๆแล้วไม่ใช่(จริงๆแล้วมันอาจเกี่ยวข้องกับสัมผัสอื่นๆ)
อาการประสาทหลอนสามารถเกิดขึ้นกับผู้ที่กำลังหลับ (เคลิ้มหลับ) (กำลังเคลิ้มตื่น) หรือในระหว่างหลับ พวกเขาอาจมีอาการประสาทหลอน โดยทั่วไปแล้ว ผู้ที่เป็นโรคลมหลับมักไม่มีปัญหาในการนอนหลับในตอนกลางคืนแต่พวกเขามักประสบกับความอยากลำบากในการนอนหลับซึ่งเกิดจาก อาการนอนไม่หลับ ฝันมากมาย นอนละเมอ เดินออกนอกสถานที่ในขณะหลับ และมีภาวะขากระตุกขณะหลับ

การวินิจฉัยโรคลมหลับ

ถ้าไม่ได้รับการวินิจฉัย โรคลมหลับสามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานทางด้านจิตใจ สังคม และกระบวนการรับรู้ รวมถึงส่งผลกระทบต่อกิจกรรมการทำงาน การเรียนและกิจกรรมทางสังคมอื่นๆอีกด้วย  
แม้ว่าแพทย์ประจำตัวของคุณสามารถทำการวินิจฉัยเบื้องต้นเกี่ยวกับโรคหลับผ่านอาการง่วงนอนมากผิดปกติระหว่างวัน หรือภาวะผล็อยหลับ การวินิจฉัยที่เป็นทางการยังคงจำเป็นที่จะต้องมีการประเมินในศูนย์การนอน เมื่อผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับจะวิเคราะห์พฤติกรรมการนอนของคุณ
ในการทำการวินิจฉัย แพทย์ประจำตัวของคุณจะทำการบันทึกประวัติการนอนของคุณโดยละเอียดด้วยการใช้แบบสอบถาม Epworth Sleepiness Scale ที่ออกแบบมาเพื่อประเมินระดับความง่วงนอน แพทย์ประจำตัวของคุณอาจถามให้คุณเก็บบันทึกการนอนของคุณอย่างละเอียดประมาณหนึ่งสัปดาห็หรือนานกว่านั้นเพื่อหารูปแบบพฤติกรรมการนอนและระดับของความตื่นตัว
เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการวินิจฉัย แพทย์ประจำตัวของคุณอาจขอให้คุณใส่ ActiGraph ซึ่งเป็นอุปกรณ์เหมือนนาฬิกาข้อมือที่วัดระยะเวลาของกิจกรรมและการพักผ่อน

วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

โรคลมหลับ 

สาเหตุของโรค
       โดยทั่วไปแล้ว โรคลมหลับมักเกิดจากความไม่สมดุลของสารเคมีในสมอง ในกรณีส่วนใหญ่ ผู้ป่วยที่เป็นโรคลมหลับมีระดับสารกระตุ้นให้ตื่นในสมองที่ชื่อว่า "hypocretin" ต่ำกว่าปกติ และผู้ป่วยที่เป็นโรคลมหลับมักไม่มีประวัติครอบครัวของโรค แต่ญาติที่ใกล้ชิดของผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มีความเสี่ยงสูงทางสติในการพัฒนาที่จะเป็นโรคลมหลับในอนาคต ในกรณีที่พบได้ไม่บ่อย โรคลมหลับอาจเกิดจากความบกพร่องทางพันธุกรรมที่ขัดขวางให้มีการผลิตสารกระตุ้น hypocretin ในระดับที่ปกติ
       โรคลมหลับที่มีโรคภาวะผล็อยหลับร่วมด้วย (โรคลมหลับชนิดที่ 1) มีความเชื่อมโยงกับสิ่งที่นักวิจัยพบว่าการสูญเสียเซลล์ในสมองที่ผลิต hypocretin ซึ่งเกิดจากโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายโจมตีเซลล์เหล่านี้ ถ้าคุณเป็นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง ถ้าคุณเป็นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง ระบบภูมิคุ้มกันของคุณจะทำงานผิดพลาดโดยการโจมตีเซลล์ดีหรือเนื้อเยื่อดี
  ในบางกรณีที่พบได้ยากของโรคลมหลับมักเป็นผลลัพธ์จากอาการบาดเจ็บที่รุนแรงในบางส่วนของสมองที่ควบคุม REM sleep (การนอนหลับที่กลอกตาอย่างรวดเร็ว) หรือเนื้องอกในสมองรวมถึงกระบวนการเกิดโรคอื่นๆที่เกิดขึ้นในส่วนเดียวกัน


การตรวจและรักษาผู้ป่วยที่มีความผิดปกติในการนอนคืออะไร ? แพทย์ประจำของคุณจะแนะนำให้คุณทำการตรวจและรักษาผู้ป่วยที่มีความผิดปกติในการนอนเพื่...